หลายๆ คนยังคงเข้าใจว่า การลดน้ำหนัก ต้องทานให้น้อย น้ำหนักถึงจะลง ในช่วงแรกมันได้ผลน้ำหนักลงเราก็หลงดีใจกันไป และคิดว่ามาถูกทางกัน แต่พอเวลาผ่านไปสักพัก น้ำหนักกลับคงที่เผลอๆ มันกลับเพิ่มขึ้นมามากกว่าเดิมด้วยซ้ำ นั่นสิมันเป็นเพราะอะไร?
วันนี้เราจะมาดูถึงเหตุผลว่าทำไม เพราะอะไร ทำไมร่างกายไม่เผาผลาญไขมันมาใช้เป็นพลังงานจนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาอีกด้วย
ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักแคลอรี่กันก่อน มันคือหน่วยวัดพลังงานที่เราได้จากอาหาร ทีนี้เราต้องรู้ว่า ร่างกายของเรา จะเอาแคลอรี่ไปใช้ทำอะไรกันบ้าง
- Basal Metabolic Rate (BMR) คือ ปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ เพื่อการอยู่รอด เช่น การทำงานของสมอง ไต หัวใจ และระบบประสาท เป็นต้น
- ระบบย่อยอาหาร (Digestion) ร่างกายต้องการพลังงานแคลอรี่ไปใช้ในการย่อยอาหาร ยิ่งบางชนิดที่ใช้เวลาย่อยนาน เช่น อาหารที่มีโปรตีนสูงๆ ร่างกาย ก็ต้องใช้พลังงานแคลอรี่เยอะขึ้นในการย่อย เรียกว่า Thermic Effect Of Food (TEF)
- กิจกรรมในชีวิตประจำวัน (Daily Physical Activites) ร่างกายเราต้องการพลังงานแคลอรี่สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่นการออกกำลังกาย เดินขึ้นบันได และทำงานบ้านเป็นต้น
ถ้าร่างกายเราได้รับพลังงานแคลอรี่มากกว่าที่ต้องการ เราก็จะมีน้ำหนักมากขึ้น และน้ำหนักที่เพิ่มขี้นมาส่วนใหญ่ จะอยู่ในรูปแบบของ ไขมันในร่างกาย (Body Fat) จึงทำให้หลายๆ คนเข้าในว่าต้องกินให้น้อยกว่าที่ร่างกายเผาผลาญ หรือต้องการ มันถูกต้อง แต่..น้ำหนักเราจะไม่ลด เผลอๆ จะเข้าสู่สภาวะของ “โยโย่เอฟเฟ็ค” และมีปัญหาสุขภาพได้ เช่น ประจำเดือนขาด และกระดูกอ่อนแอ ถ้าเรากินอาหารน้อยเกินไป
และเหตุผลว่าทำไมกินน้อยถึงทำให้เราอ้วนขึ้น สุขภาพร่างกายพัง
- การกินน้อย ทำให้ระบบเผาผลาญพัง (Lower Your Metabolism) การที่เรากินน้อยตั้งแต่เริ่มต้นของการลดน้ำหนัก มันจะส่งผลทำให้ระบบเผาผลาญพัง หรือ ระบบเมตาบอลิซึมทำงานช้าลงเรื่อยๆ นักวิจัยพลว่า การกินน้อยเกินไป โดยเฉพาะกินน้อยกว่า 1,000 แคลอรี่ต่อวัน อาจจะทำให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลงมากถึง 23% เลยทีเดียว ไม่เทียงแต่เท่านั้น ระบบเผาผลาญที่พัง อาจจะต้องใช้เวลาแก้นานเหมือนกัน ถึงแม้ว่าเราจะเลิกกินน้อยก็ตาม บางคนอาจจะใช้เวลานานถึง 1-2 เดือน บางคนอาจใช้เวลาเป็นปี งานวิจัยพบอีกว่า กว่า80% ของคนที่กินน้อยจนระบบเมตาบอลิซึมทำงานช้าลง จะเกิดภาวะ “โยโย่เอฟเฟ็ก” อีกด้วย การกินอาหารไม่ควรกินน้อยเกินไป อย่างน้อยๆ ให้กินเท่ากัยค่า BMR เลือกกินอาหารที่มีโปรตีนสูง ตั้งเป้าประมาณ 1.5-2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และที่สำคัญควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- การกินน้อย ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร เหนื่อยง่าย และดูโทรม เพราะการกินน้อยกว่าที่ร่ากายต้องการ จะทำให้เราเหนื่อยล้า ร่างกายโทรม และการขาดสารอาหารต่างๆ เช่น กินน้อยทำให้ร่างกายอาจจะขาดธาตุเหล็ก กรดโฟลิก หรือวิตามินบี12 ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกอ่อนเพลีย และโทรม อาจะเกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย เนื่องจากร่างกายขาดสารอาหารสำคัญที่ควรได้รับ อย่าง โปรตีน แคลเซียม ไบโอติน และไทอามีน วิตามินเอ แมกนีเซียม
- กินน้อยอาจทำให้ประจำเดือนขาด สำหรับคุณผู้หญิง จะมีผลโดยตรงต่อระดับฮอร์โมนเพศ จนทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และมีบุตรยากได้ ซึ่งการกินน้อยมีผลโดยตรงต่อระดับลูทิไนซิงฮอร์โมน ผู้หญิงที่กินน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ 22-42% จะมีปัญหาประจำเดือนได้ เพราะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำเกินไป ทำให้มีปัญหากระดูก และหัวใจตามมาได้อีกด้วย
- การกินน้อยทำให้สูญเสียมวลกระดูก เพราะการกินน้อยมีผลต่อระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน และเทสทอสเตอโรน ซึ่งทั้งสองชนิดนี้มีส่วนสำคัญในการสร้างมวลกระดูก และจะทำให้ร่างกายเครียด ทำให้ฮอร์โมนเครียดหลั่งออกมามากจะทำให้สูญเสียมวลกระดูกมากขึ้นด้วย
- การกินน้อยทำให้ป่วยง่าย ร่างกายอ่อนแอ กินน้อยมันมีผลโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย จากงานวิจัยนักกีฬาที่ลดน้ำหนักก่อนเข้าแข่งขัน เช่นนักมวย พวกเขาจะเสี่ยงที่จะติดเชื้อ และป่วยง่ายกว่าปกติ 2-3 เท่าเลย
และทั้งหมดนี้ว่าทำไมกินน้อยถึงทำให้อ้วน เราควรปรับเปลี่ยนการกิน โดยเริ่มต้นจากทานอาหารให้ครบมื้อ ครบ 5 หมู่ แต่เลือกทานที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายสูงสุด และให้ผลเสียต่อร่างกายน้อยสุด เลือกทานโปรตีน ผัก ให้มากขึ้น และควรออกกำลังกายบ้างเท่าที่เรามีเวลา อีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมกับสภาวะในปัจจุบันบางคนเวลาอาจจะเร่งรีบ จนละเลยไป อาจจะเลือกอาหารเสริมที่ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารได้ครบถ้วน แลุะอาหารเสริมที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบเผาผลาญให้ทำงานได้มากขึ้น