วัยเด็ก เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย รวมถึงการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ถ้าเด็กมีการเจริญเติบโตช้าอาจจะบ่งบอกถึงความผิดปกติของโรคบางอย่างที่ซ่อนเร้น และควรจะได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมแต่เนิ่นๆ ปัจจัยที่มีผลกับการเจริญเติบโตของเด็ก เกิดได้จากหลายปัจจัย
- กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด
- โภชนาการที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
- การนอนหลับที่เพียงพออย่างน้อยวันละ 8-10 ชม.
- การออกกำลังที่สม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
- ความเจ็บป่วย โรคเรื้อรังที่ซ่อนเร้นอยู่ ที่อาจทำให้เด็กเติบโตช้าได้
- ยาบางกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาสเตียรอยด์ ซึ่งถ้าได้รับปริมาณมากจะมีผลต่อการเจริญเติบโต
- ฮอร์โมน มีฮอร์โมนหลายอย่าง ซึ่งหากมีปริมาณน้อยจะมีผลทำให้เด็กไม่เติบโตได้
วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าลูกเติบโตช้าหรือไม่
- ตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับพี่น้องท้องเดียวกัน เมื่ออายุเท่าๆ กัน
- ตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน
- มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงโดยเปรียบเทียบในกราฟการเจริญเติบโตหรือไม่เติบโตเลย
- ส่วนสูงอยู่ต่ำกว่าเส้นล่างสุดของกราฟการเจริญเติบโต ตามเพศและอายุของเด็ก
เลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต
- ควรรับประทานให้ครบ 5 หมู่ คือ ข้าวแป้ง เนื้อสัตว์ นม ไขมัน ผักและผลไม้อย่างสมดุล
- ดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว เพื่อให้ได้แคลเซียมเพียงพอ
- ควรรับประทานอาหารประเภทผัก และผลไม้เป็นประจำเพื่อให้ได้ใยอาหาร
- รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเป็นประจำเช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว
- ไม่ควรกินรสหวานจัดและอาหารประเภทน้ำตาลมาก
- หลีกเลี่ยอาหารที่มันมากเกินไป เช่นอาหารทอดน้ำมัจน
- หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม และของขบเคี้ยว เช่น ขนมมหวาน ขนมกรุบกรอบ
ฮอร์โมนอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต
- ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone)
- ฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid hormone)
- ฮอร์โมนเพศ ซึ่งปกติจะสร้างจากต่อมเพศ ถ้าไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ เด็กจะเติบโตช้า และไม่มีอาการแสดงของการเข้าสู่วัยหนุ่มสาว
- คอร์ติซอล (Cortisol) สร้างจากต่อมหมวกไต เป็นฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อสภาวะเครียด หากมีมากเกินไป จะมีผลกระทบกับการเจริญเติบโต
ลองสังเกตุลูกน้อยในแต่ละช่วงวัยนะคะ ถ้ารู้สึกผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ แต่ด้วยปัจจุบันมีอาหารเสริมที่ช่วยให้เด็กๆ แข็งแรง และเสริมความสูง ง่ายต่อการให้ลูกน้อยได้สารอาหารที่ครบถ้วน